การฟอก / เติมน้ำยาแอร์ยานพาหนะ
การเติมน้ำยาแอร์ในยานพาหนะ (รถยนต์ รถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะที่มีระบบปรับอากาศ เป็นต้น) นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อเราใช้รถไปได้สักระยะหนึ่งแล้วก็จะถึงรอบการทำความสะอาดตู้แอร์ ล้างตู้แอร์ เติมน้ำยาแอร์ นั่นเอง (แน่นอนล่ะ ถ้าล้างตู้แอร์ ไม่เติมน้ำยาแอร์ก็คงจะประหลาดน่าดู!) ซึ่งงานนี้ไม่แนะนำให้ทำเอง เอาเข้าศูนย์บริการ อู่ ที่มีเครื่องมือมาตรฐาน มีช่างฝีมือดีๆ ทำให้น่าจะเหมาะสม แต่ถ้ามีรถหลายคัน มีฝีมือในการดูแล บำรุงรักษา บ้าง การทำเองก็ไม่ได้ยากเกินไป แต่ทำได้ในระดับเติม นอกจากจะมีอุปกรณ์ที่สามารถรีไซเคิลน้ำยาแอร์ หรือที่เรียกว่า AC Service Unit บ้างก็เรียกว่าเครื่องชาร์จน้ำยาแอร์ บ้างก็เรียกว่าเครื่องรีไซเคิลน้ำยาแอร์
สำหรับความเห็นของผู้เขียน เรียกวาเครื่องฟอก หรือ รีไซเคิลน้ำยาแอร์จะตรงกว่า
เพราะเครื่องจะทำงานโดยการดึงน้ำยาเก่าออกมาผ่านเข้าไปในเครื่อง โดยผ่านกระบวนการแยกน้ำมัน ความชื้น และสิ่งสกปรกออก โดยนิยมใช้ไฟฟ้าสถิตย์เป็นกลไกในการแยก และไม่ต้องกังวลกับการทำงานของเครื่องเพราะในปัจจุบัน เครื่องรีไซเคิลน้ำยาแอร์อัตโนมัติ เกือบทุกยี่ห้อ จะมีข้อมูลรถบันทึกอยู่ และมีรายงานเป็นสลิปออกาให้ดูว่าทำงานไปอย่างไร น้ำยาเดิมได้รับการฟอกแล้วก็จะถูกบรรจุกลับไป กรณีที่พร่องไปแล้ว เครื่องก็จะเติมน้ำยาแอร์เข้าไปให้ตรงกับระดับตามสเปคของรถรุ่นนั้นๆ
สิ่งสำคัญคือ
1. อย่าลืมตรวจเช็คชนิดน้ำยาแอร์ เพราะเครื่องรีไซเคิลน้ำยาแอร์บางรุ่นก็ทำได้ครอบคลุมน้ำยาหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่มักจะชาร์จน้ำยา R134A ส่วนน้ำยารุ่นอื่นอาจมี option เพิ่มไป
2. รถชนิดไหน เพราะหากเป็นไฮบริด หรือรถไฟฟ้า เครื่องรีไซเคิลน้ำยาแอร์บางรุ่นอาจไม่รองรับ หรือ อาจต้องมี option เพิ่ม
ผู้เขียนมองว่าการรีไซเคิลน้ำยาแอร์ เป็นกระบวนการทำความสะอาดน้ำยาแอร์ และเติมน้ำยาแอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ไม่ต้องเทน้ำยาแอร์เดิมทิ้งไปให้เป็นมลภาวะ) ประหยัด เนื่องจากอัตราการเติมน้ำยาแอร์ไม่มาก (เพราะเราเอาน้ำยาเดิมมารีไซเคิลแล้วใส่กลับไป) นอกจากนี้ ข้อดีมากๆ เลยคือ ทำให้แอร์เย็นฉ่ำทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะหากเราเพียงเติมน้ำยาแอร์อย่างเดียว สิ่งสกปรก น้ำมัน และความชื้นก็จะยังคงค้างอยู่กับน้ำยาเดิมอยู่ดี การทำความสะอาดน้ำยาแอร์ตามรอบก็จะเป็นการยืดอายะการใช้งานของระบบปรับอากาศในรถของเรา นอกจากนี้ ยังป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากน้ำยาแอร์ไม่สะอาดอีกด้วย แต่ถ้าเป็นกลิ่นอับชื้นในห้องโดยสาร คงเป็นงานหลายส่วนเลยทีเดียว
ว่าแล้ว อย่าลืมตรวจสอบรถของท่านว่า ถึงรอบรีไซเคิลน้ำยาแอร์หรือยัง และอย่าลืมมองหาศูนย์บริการหรืออู่ที่มีเครื่องมือมาตรฐาน เพื่อบริการรถของเรา ตามมาตรฐานสเปคของรถ สำหรับอู่ ศูนย์บริการ ช่าง .. กู๊ดลัคชาร์ม ขอฝากเครื่องรีไซเคิลน้ำยาแอร์ยี่ห้อ GLC ผลิตโดย Manatech อินเดีย ราคาย่อมเยาคุณภาพสูงเท่าของยุโรป ไว้ในอ้อมใจ พิจารณาเลือกซื้อไปใช้งานกันค่ะ
ผู้เขียน : พิมาภา ธิติวณิชย์